🤔 ธุรกิจอพาร์ทเม้นท์/หอพัก ยังรับรายได้แบบเสือนอนกินจริงไหม?
ธุรกิจอพาร์ทเม้นท์/หอพัก
เก็บค่าเช่าเหมือนมีรายได้ที่แน่นอนทุกเดือน
หลายคนมองว่าเหมือนเป็นเสือนอนกิน
แท้จริงแล้วเป็นอย่างนั้นจริงมั้ย
ในยุคนี้ยังคงสามารถเรียกแบบนั้นได้อยู่รึเปล่า
ถ้าใช่...แล้วทำไมตอนนี้
ดูเหมือนเจ้าของหอพักแห่กันทยอยขายออกกันหมด
และในอนาคตธุรกิจนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป
เรามาลองมาดูรายละเอียดในหลายๆมุมกัน
เมื่อประมาณ20-30ปีก่อน
กิจการหอพัก
ถือว่าเป็น 1 ในโมเดล
ที่สามารถสร้าง passive income ได้อย่างดี
ใครที่มีหอพักเป็นของตัวเองช่วงนั้น
ถูกมองว่าเป็นคนมีฐานะในระดับนึงเลย
และเนื่องจากยังไม่มีการให้ความรู้ที่แพร่หลาย
เป็นเพียงธุรกิจวงในที่เข้าถึงกันในวงแคบเท่านั้น
ว่าง่ายๆยังไม่ค่อยมีคู่แข่ง
จึงถือว่าเป็นช่วงพีคที่ผู้ประกอบการสามารถมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ
แต่เมื่อผ่านมาอีกประมาณ 15 ปี
ได้มีบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
พัฒนาที่ดินให้เป็นการอยู่อาศัยในรูปแบบคอนโด
ซึ่งเข้ามาทดแทนการอยู่หอพักแบบเดิม
สามารถทำ profit ได้มากกว่าและ turn ไวกว่าหอพักมาก
เรียกได้ว่าคอนโดมา disrupt หอพักก็ไม่ผิดนัก
ถึงแม้ว่าคอนโดจะมีแต้มต่อที่ดีกว่า
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณภาพชีวิตของการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น
การรักษาความปลอดภัยที่มีมาตรฐาน
ส่วนกลางที่สวยอลังการขึ้นทุกวัน
แต่รายได้ของประชากรส่วนใหญ่
ก็ยังไม่สามารถเอื้อมถึง
และคอนโดเริ่มต้นที่ 7,000-8,000/เดือน
ถือว่ายังเป็น gap ที่ห่างกันอยู่มาก
หอพักจึงยังสามารถรักษาฐานลูกค้าชั้นล่างได้อยู่
แต่ทุกวันนี้
หอพักใหม่ๆบางหลังเริ่มต้นที่ 6,000 บาท/เดือนแล้ว
ถึงแม้ว่าจะมีการบริการหรือการอำนวยความสะดวกที่ดีขึ้น
แต่ก็ยังมีปัจจัยที่ผู้พักอาศัยมองแล้วว่า
เพิ่มอีกนิดไปอยู่คอนโดดีกว่า
ปัจจัยนั่นคือเรื่องของ"ค่าน้ำ/ค่าไฟ"
ค่าน้ำ/ค่าไฟ ในหอพัก
จะแพงกว่าเรตที่รัฐเรียกเก็บทั่วไป
นั่นเป็นเพราะกำไรที่ได้จากการทำหอพัก
ไม่ใช่รายได้จากค่าเช่า
แต่เป็นส่วนต่างของค่าน้ำ/ค่าไฟ
ที่ทำให้ธุรกิจหอพักยังคงพออยู่ได้
จุดคุ้มทุนของการทำธุรกิจหอพัก
จะอยู่ที่6-10ปี
ถึงแม้ว่าจะได้ค่าเช่าห้อง
ซึ่งถือว่าเป็นรายได้หลักแล้ว
แต่ถ้าต้องหักลบกับบุคลากรที่ต้องว่าจ้าง
เช่า แม่บ้าน รปภ คนที่ประจำใต้ตึก
รวมถึงการที่ต้องจ้างช่างมาซ่อมบำรุงแต่ละห้อง
หลังจากที่มีการเช่าอยู่ไปแล้วระดับนึง
margin ที่น้อยนิด
จึงไม่สามารถเลี้ยงชีพได้
แบบหายใจหายคอได้เท่าที่ควร
หรือถ้าจะขยับค่าเช่า
เป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง
เป็นกลุ่มที่ price sensitive มาก
ถ้าเพิ่มราคาค่าเช่าเพียง 500 บาท/เดือน
ผู้เช่าก็มีสิทธิ์ย้ายไปอยู่ที่อื่นได้ทันที
ไม่มีคำว่า Brand Royalty กับกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้
และปัญหาหลักของการทำธุรกิจหอพัก
คงหนีไปพ้นเรื่องของ"คน"
ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพชีวิตของผู้เช่า
ปัญหาชีวิตส่วนตัวของผู้เช่า
ส่งผลไปถึงเรื่องการชำระค่าเช่าของผู้เช่า
ปัจจุบันรายได้ของผู้เช่าในแต่ละเดือน
ที่ไม่เพียงพอกับการดำรงชีพของผู้เช่าในปัจจุบัน
เกิดปัญหาหนี้สินครัวเรือน
จนลามมาถึงการเรียกเก็บค่าเช่าได้ไม่ตามที่หวัง
ซ้ำร้ายถ้าเกิดมีการทะเลาะวิวาท
หรือการก่อเหตุจนเป็นข่าว
ยิ่งเป็นเหมือนการกระทืบซ้ำของหอพักหลังนั้น
ให้ล้มทั้งยืนไปได้เลย
ผมรู้จักเจ้าของหอพักอยู่หลังนึง
มีข่าวที่ผู้เช่ากระโดดตึกฆ่าตัวตายถึง 2 ครั้ง (โคตรซวย)
จนเป็นที่กล่าวขานกันอยู่ช่วงนึง
ทำให้เค้าเสียรายได้ทางธุรกิจมหาศาล
จนต้องแก้เกมส์
โดยการรีโนเวทตึกใหม่
เปลี่ยนสี เปลี่ยน facade
ให้ลบภาพจำของเดิมของคนทิ้งให้หมด
จนสามารถกลับมารันธุรกิจต่อได้
แต่ก็แลกมากับการลงเงินตัวเองในระดับนึงเช่นกัน
ธุรกิจหอพัก/อพาร์ทเม้นท์
ที่หลายคนมองว่าง่าย
เป็นเสือนอนกินเก็บค่าเช่าทุกเดือน
แท้จริงแล้วไม่ได้ง่ายอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ
ถึงแม้ว่าตอนนั้นอาจจะทำ yield ได้มากถึง 10%
แต่ก็ต้องแลกกับการจัดการธุรกิจแบบหนูถีบจักร
การจัดการด้านบุคลากร
และการบริการ
การซ่อมบำรุงรักษา
สิ่งเหล่านี้ต้องใช้เวลาในการดูแลพอสมควร
เพราะถ้าปล่อยปละละเลย
ปล่อยให้ลูกน้องทำงานเอง
โอกาสที่จะเกิดความสูญเสียค่อนข้างสูง
ปัญหาจุกจิกกวนใจมากมาย
อาจจะไม่คุ้มค่ากับยารักษาโรคประสาทและสุขภาพจิต
บางคนชอบสร้าง
สร้างเสร็จแล้วขาย
ไม่ชอบบริหาร
บางคนชอบบริหาร
ไม่ชอบสร้าง
ชอบแบบสำเร็จรูป ฉีกซอง พร้อมทำเงินได้เลย
เลยยังคงเห็นธุรกิจนี้เปลี่ยนมือกันอยู่บ่อยๆ
ประกอบกับเจ้าของธุรกิจหลายคน
เริ่มมีอายุมากขึ้น
ดูแลธุรกิจไม่ไหว อยากพักผ่อน
ก็อยากจะส่งต่อให้อีกรุ่น
แต่ในรุ่นปัจจุบัน
ตั้งแต่ Gen X เป็นต้นไป
กลับไม่อินกับธุรกิจนี้สักเท่าไหร่
คนที่โตมากลับธุรกิจนี้ตั้งแต่เกิด
เห็นพ่อแม่ทำมาตลอด
ก็ไม่ได้สนใจธุรกิจของพ่อแม่
ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติมากๆ
ที่รุ่นลูกมักไม่ค่อยสืบต่อกิจการจากพ่อแม่
หรือถ้าเป็นรุ่นใหม่ที่ครอบครัวไม่เคยทำธุรกิจหอพักมาก่อน
ด้วยผลตอบแทนปัจจุบัน
อาจจะไม่เร้าใจเหมือนธุรกิจอื่น
จึงไม่สนใจที่จะเข้ามาร่วมวงกับธุรกิจนี้
และคู่แข่งทางตรงอย่างคอนโด
บางโครงการก็เริ่มเห็นราคาที่พอจับต้องได้
ถ้ามองแต่ค่าเช่า...คอนโดอาจจะแพงกว่า
แต่ถ้ามองเรื่ององค์ประกอบอื่นด้วย
เช่น ถ้าเอาค่าไฟ/ค่าน้ำ/ค่าอินเตอร์เนต
ที่จอดรถ ระบบรักษาความปลอดภัย
รวมถึงภาพลักษณ์ทางสังคม
มาเป็นปัจจัยร่วมด้วย
จะเห็นว่าคอนโดมีแต้มต่อที่ดีกว่าอย่างชัดเจน
เหตุผลทั้งหมดเหล่านี้
จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เห็น
คนเริ่มเทขายกิจการหอพักมากขึ้น
เพราะกิจการนี้
ไม่ใช่กิจการที่น่าดึงดูด
และผลตอบแทนไม่น่าเร้าใจอีกต่อไป
ถ้ามองว่าหอพักอาจจะได้ yield ที่ดีกว่า
อาจจะมองได้ไม่รอบด้าน
เพราะถ้าให้ตีว่า
หอพักกับคอนโดได้ yield ที่ 8% เหมือนกัน
ระหว่าง 8% ของคอนโดที่จัดการคนเพียงไม่กี่คน
กับ 8% ของหอพักที่ต้องจัดการคนทั้้งตึก+พนักงาน
รวมถึงสภาพคล่องการ exit ขายสินทรัพย์ออกไป
คุณจะสามารถตอบตัวเองได้อย่างทันที
ว่าแบบไหนมันคุ้มค่ากว่ากัน
แต่ถ้าถามว่ากิจการหอพักจะหายสาบสูญไปมั้ย
ก็ต้องตอบได้เต็มปากว่ายังคงอยู่ไปอีกนาน
หอพักยังเป็นเหมือนที่พึ่งยามยากให้กับคนมีรายได้น้อย
และยังคง popular ในบางทำเล
ใกล้ที่ทำงาน ใกล้หน่วยงานราชการ
รวมถึงใกล้แรงงานจำพวกโรงงานตามต่างจังหวัด
กลุ่มลูกค้าเหล่านี้
ถือว่าเป็นกลุ่มที่ยังมี demand ตลอด
และไม่ค่อยย้ายไปไหน
ตราบใดที่ยังคงทำงานหรือศึกษาอยู่แถวนั้น
Prime Area พื้นที่เศรษฐกิจ
ใกล้รถไฟฟ้าหรือสนามบิน
สามารถนำหอพัก
มาปรับเปลี่ยนให้เป็นรูปแบบ Hostel หรือ Airbnb
เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและลูกค้าขาจร
ผสมๆไปกับลูกค้าประจำ
ก็ยังสามารถพอไปต่อได้
เพราะรายได้ของการทำ Hostel หรือ Airbnb นั้น
ค่าเฉลี่ยได้มากกว่าค่าเช่ารายเดือนถึง 3 เท่า
แต่การปรับเปลี่ยนจากหอพักในเป็น Airbnb นั้น
ต้องมาพร้อมเงินทุนที่จะต้องปรับปรุงให้ดูดีขึ้น
เพื่ออัพราคาได้มากขึ้น
ผู้ประกอบการหลายเจ้าไม่สามารถปรับปรุงได้
เพราะ profit ในแต่ละเดือน
ก็แทบไม่เหลืออะไรแล้ว
จะไปขอสินเชื่อแบงค์เพื่อมาทำ
ก็ดูจะเสี่ยงเกินไปสำหรับผู้ประกอบการ
เพราะกลุ่มลูกค้าหอพักกับ Airbnb
ถือว่าเป็นกลุ่มลูกค้าคนละกลุ่มกันโดยสิ้นเชิง
ถ้าผู้ประกอบการไม่ได้มีฐานลูกค้าของธุรกิจใหม่อยู่แล้ว
ก็มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงเช่นกัน
แต่ก็ใช่ว่า hostel หรือ Airbnb จะไม่มีปัญหาอะไร
เพราะคนที่มาใช้บริการตรงนี้
ต้องเตรียมพร้อมกับการซ่อมบำรุงตลอดเวลา
ลูกค้ากลุ่มนี้
ถือว่าเสียเงินแล้วต้องใช้บริการให้เต็มที่
จะไม่ถนอมของสักเท่าไหร่
เปิดแอร์ทิ้งไว้ทั้งวันก็เยอะ
แต่ถ้าคุณจะถามว่า
แล้วหอพักของคุณที่ตั้งอยู่
ไม่ได้อยู่ใกล้พื้นที่ดังกล่าวเลย
จะทำอย่างไร?
ผมก็ต้องถามกลับว่า
แล้วตอนที่คุณคิดจะสร้างหอพัก
ตอนนั้นคุณคิดว่าลูกค้าคุณคือใคร
แหล่งงาน/แหล่งท่องเที่ยวมาจากไหน
ณ ตอนนี้คุณสามารถเพิ่มฐานลูกค้าได้มั้ย
ถ้าได้ แปลว่าคุณยังมีทางรอด
ปรับปรุงและรีโนเวท
ให้ Value หอพักคุณดูดีขึ้น
ทำการตลาดให้มากขึ้น
เพื่อดึงดูดลูกค้าเข้ามา
ถ้าไม่ได้?
คุณก็จำเป็นที่จะต้องขายตามราคาที่คุณได้มา
กำไรที่ได้มาตั้งแต่คุณประกอบกิจการมา
ถือว่าคุณได้กำไรแล้ว
อย่าคิดอะไรมาก
เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่ายเปล่าๆ
เพราะคุณเองก็น่าจะรู้ข้อจำกัดของหอพักคุณเอง
แต่ต้องเป็นการขายที่ให้เจ้าใหม่มารับช่วงไป
สามารถไปต่อได้
เจ้าเก่าต้องยอมรับสภาพอย่างนึง
คือไม่สามารถอัพราคาได้เท่าไหร่
หรืออาจจะต้องจำใจขายขาดทุนด้วยซ้ำ
เพราะถ้าคุณอิงกับราคาที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างในปัจจุบัน
คนที่มารับช่วงต่อ
ถ้าเคาะตัวเลขออกมาแล้ว
ไม่สามารถไปต่อได้เลย
ใครจะมาซื้อ
เจ้าใหม่เข้ามาแล้วจุดคุ้มทุนอยู่ที่ 20-30ปี
ใครจะเอาเงินมาจมกับ....ตรงนี้ถูกมั้ย ?
มาถึงตรงนี้
คุณพอจะเข้าใจธุรกิจหอพักมากขึ้นแล้ว
มันเป็นธุรกิจที่คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า
แต่ถ้าที่จะเข้ามาทำธุรกิจนี้
บทความนี้อาจจะช่วยเตือนสติอะไรคุณได้
ไม่มากก็น้อย
#ขอให้โชคดี
😘