ความรู้

ความรู้

วิธีการคำนวณ ค่าใช้จ่ายในการโอน ณ กรมที่ดิน

วันที่สร้างประกาศ เวลาสร้าง 8 พฤษภาคม 2565 17:20
คิดแบบไหน เข้าใจง่ายๆ มาดูกันเลย
1. ธรรมเนียมการโอน คิด2%ของราคาประเมินของกรมที่ดิน

2. ภาษีเงินได้

2.1 ผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดา ได้ทรัพย์สินชิ้นนั้นจากการซื้อมา โดยคิดจากราคาประเมินของกรมที่ดิน

2.2 ผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดา ได้ทรัพย์สินชิ้นนั้นมาฟรี! ซึ่งก็จะแบ่งออกเป็น2อย่างคือ

2.2.1 ได้มาจากมรดก(คนตาย) โดยคิดจากราคาประเมินของกรมที่ดิน

2.2.2 ได้มาจากการรับให้(คนเป็นให้มา) รวมถึงได้มาจากพินัยกรรม โดยคิดจากราคาประเมินของกรมที่ดิน

2.3 ผู้ขายเป็นนิติบุคคล คิด1% ของราคาประเมินของกรมที่ดินหรือราคาซื้อขายจริง ตัวเลขไหนสูงกว่าคิดราคานั้น

หมายเหตุ*** วิธีการคำนวณภาษีเงินได้ จะคิดจากจำนวนปีที่ถือครอง ยกตัวอย่างเช่นได้มาปี63 แล้วขายปี64 จะนับเป็น2ปี และเอาราคาประเมินมาคิดคำนวนขั้นต่างภาษีเงินได้รวมกับปีที่ถือครอง เอามาคำนวณในสูตรการคำนวณภาษีเงินได้กันอึกที (ในส่วนนี้ต้องมาศึกษาและเรียนรู้เพิ่มเติม เพราะแต่ละเคส การได้มาไม่เหมือนกัน ฐานภาษีก็ไม่เหมือนกันมูลค่ายิ่งสูงก็ต้องเสียภาษีในอัตราที่สูง(คิดแบบอัตราก้าวหน้า) หรือการได้มาไม่พร้อมกัน ฯลฯ ดังนั้นต้องดูเป็นเคสบายเคส ถึงจะสามารถตอบได้)

3.1 ภาษีธุรกิจเฉพาะ หมายถึงผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดา ได้มาไม่ถึง5ปีบริบูรณ์ (โดยนับวันชนวัน) หรือผู้ขายเป็นนิติบุคคล โดยคิด3.3% ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขายจริงหรือราคาที่ทางผู้ซื้อยื่นขอสินเชื่อกับธนาคาร ตัวเลขไหนสูงกว่าคิดตัวเลขนั้น

3.2 อากรสแตมป์ หมายถึงผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดา ได้มาเกิน5ปีบริบูรณ์ (โดยนับวันชนวัน) โดยจะคิด0.5% ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขายจริงหรือราคาที่ทางผู้ซื้อขอสินเชื่อกับธนาคาร

ข้อยกเว้น…ถ้าผู้ขายได้มาจากมรดก หรือผู้ขายได้ทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยนั้นมา และมีชื่อหลังโฉนดเพียงคนเดียวเท่านั้น(ถ้าเกินตั้งแต่2คนขึ้นไปจะไม่ได้รับสิทธิ์ข้อยกเว้นนี้) และได้โอนชื่อของตัวเองเข้าไปอยู่ในทะเบียนบ้านหลังที่ขาย(ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเจ้าบ้าน)หรือเคยโอนชื่อไปอยู่บ้านหลังที่ขายรวมแล้วเกิน1ปีบริบูรณ์ ก็จะเสียเป็นอากรสแตมป์

หมายเหตุ***ถ้าสงสัยหรือต้องการสอบถามเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 081-565-2025

เขียนโดย…นายชาญวิทย์ ศรีสุวรรณ (director)
บริษัทเบสท์แลนด์แอนด์เฮาส์ซิ่ง จำกัด ภายใต้แบรนด์(ERA)

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

ดูหัวข้ออื่นเพิ่มเติม