feature
icon   51

ติดตาม

icon   0

กำลังติดตาม

icon   78

โพสที่สร้าง

ความรู้

🧐ไขความความต่างระหว่าง Yield และ ROI ในการลงทุนอสังหาฯ วัดผลตอบแทนจากการปล่อยเช่า และการขายอย่างแม่นยำ

🐮AG : พี่Ex ๆ เวลาลงทุนอสังหา เห็นบางคนเค้าพูดว่า ถ้าปล่อยเช่าควรคำนวนว่าได้ Yield กี่ % แต่เห็นบางคนพูดว่าถ้าเป็นแนวบริหารกิจการ ควรคิด ROI ว่าได้อยู่ที่กี่ %, สรุป Yield กับ ROI มันต่างกันยังไง 🥹
🐻Ex : มี net พิมพ์ถาม แต่ไม่ค่อยใช้ net เข้า google เน๊อะ 🤨
🐮AG : คือ...หนูอ่านแล้วไม่เข้าใจอ่ะ เวลาพี่อธิบายหนูดันเข้าใจ 😅
🐻Ex : อือจ่ะ ภาระกูซะงั้น...อ่ะมา เดี๋ยวจะเหลาให้ฟัง 🙄

Yield และ ROI
เป็นตัวชี้วัดทางการเงินที่ใช้วัดผลตอบแทนจากการลงทุน แต่มีความแตกต่างกัน ในด้านการคำนวณและการนำไปใช้

มาเริ่มกันที่ Yield ก่อนละกัน #Yield คืออัตราผลตอบแทน ที่ได้รับจากการลงทุน ในรูปแบบของกระแสเงินสด เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล เทียบกับมูลค่าการลงทุน
main-image
profile-avatar
matching 3 เดือนที่แล้ว
ความรู้

🔥ทรัพย์อิงสิทธิ…เครื่องมือใหม่แห่งการจัดการอสังหาฯ ที่คุณต้องรู้!

🐮AG : พี่เอ็กซ์ๆ พอดีจะทำสัญญาเช่า แต่เจ้าของเค้าจะให้พ่อแม่มาเป็นคู่สัญญาแทนได้มั้ย?
🧸Ex : ได้...ทำใบมอบอำนาจจากเจ้าของมาก็ได้ ถ้าเป็นคนในครอบครัว นามสกุลเดียวกันไม่ค่อยมีปัญหาหรอก
🐮AG : คือเจ้าของเค้ามีหลายห้อง บางห้องใช้ชื่อพ่อซื้อ บางห้องใช้ชื่อแม่ซื้อ
🧸Ex : อันนี้คือจะเลี่ยงภาษีบุคคลเงินได้ใช่มั้ย
🐮AG : มะ....มะ...มั้งคะ 😅
🧸Ex : ถ้าทำแบบนี้ พี่แนะนำให้เจ้าของจดเป็น"ทรัพย์อิงสิทธิ"ดีกว่านะ
🐮AG : ทรัพย์อิงสิทธิ? มันคืออะไรคะ ? ไม่เคยได้ยิน
🧸Ex : มา...นั่งล้อมวง เดี๋ยวจะเหลาให้ฟัง จะเหลาทุกมิติของทรัพย์อิงสิทธิในม้วนเดียว
#ยาวนะกลั้นใจอ่านละกัน

ท้าวความกันก่อนว่า "ทรัพย์อิงสิทธิ" คืออะไร ทรัพย์อิงสิทธิ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Right over leasehold asset

✅คือรูปแบบสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ประเภทนึงที่พัฒนาภายใต้ พ.ร.บ. ทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้ประโยชน์อสังหาริมทรัพย์

✅ทรัพย์สินที่เจ้าของทรัพย์มอบสิทธิ์ให้บุคคลอื่นใช้หรือจัดการได้ตามข้อตกลง โดยไม่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นให้กับผู้ใช้สิทธิ์ การใช้สิทธิ์นี้มักมีเงื่อนไขหรือข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญา เช่น ระยะเวลาในการใช้สิทธิ์ หรือวัตถุประสงค์ของการใช้สิทธิ์

✅ซึ่งผู้ที่ได้รับประโยชน์ตรงนี้เรียกว่า "ผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิ" หรือเรียกสั้นๆว่า"ผู้ทรงสิทธิ์"

✅โดยผู้ทรงสิทธิสามารถใช้งาน ปรับปรุง หรือโอนสิทธิได้อย่างอิสระ และสามารถนำทรัพย์อิงสิทธิไปจำนองได้

นอกจากนี้
✅หากหมดอายุสัญญา ทรัพย์อิงสิทธิจะกลับคืนสู่เจ้าของทรัพย์เดิม

"ย้ำก่อนว่า #กรรมสิทธิกับสิทธิ ต่างกันนะ" สิทธิ คือสิ่งที่เราทำได้กรรมสิทธิ คือเรื่องของการถือครองความเป็นเจ้าของ

ทรัพย์อิงสิทธิ คือมีสิทธิทุกอย่างเสมือนเป็นเจ้าของทรัพย์ แต่ไม่มีกรรมสิทธิในตัวทรัพย์

🐮AG : แล้วมันต่างกับสิทธิการเช่าระยะยาว(Leasehold)ยังไง ?
main-image
profile-avatar
matching 4 เดือนที่แล้ว
แชร์ประสบการณ์

🔥ทำไมต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นปีที่ 2 ในการเช่าสัญญาที่อยู่อาศัย? ความเข้าใจที่เจ้าของห้องควรรู้

Q:
หลายครั้งที่เจ้าของห้องจะถามกับเอเจ้นท์ว่า
ในการทำธุรกรรมสัญญาเช่า(เชิงที่อยู่อาศัย)
ทำไมต้องจ่ายค่าคอมปีที่ 2
ในเมื่อเอเจ้นท์ก็ไม่ได้ทำอะไร

A:
การจ่ายค่าคอมปีที่ 2
เป็นเหมือนการซื้อประกันความเสี่ยง / การซื้อบริการ
ที่เอเจ้นท์จะต้องดูแลเคสนี้ไปตลอด
ตราบใดที่ลูกค้าที่เอเจ้นท์พามา
ยังคงเช่าอยู่

ถ้าเจอผู้เช่าดีก็ดีไป
ทั้งเจ้าของและเอเจ้นท์
ไม่ต้องทำอะไร

แต่ถ้าเจอผู้เช่าไม่ดี
คนที่ต้องแอคชั่น
ในการแก้ปัญหา
หรือต้องลงหน้างานคนแรก
คือเอเจ้นท์

เอเจ้นท์จะต้องแก้ปัญหาต่างๆ แทนเจ้าของ
เช่น ทวงเงินค่าเช่ากับผู้เช่า
ดำเนินเรื่องประสานกับนิติ
หรือประสานด้านอื่นๆ

เอเจ้นท์ควรมีหนังสือ"สัญญาแต่งตั้งนายหน้าสำหรับเช่า"
เป็นลายลักษณ์อักษร
เพื่อแสดงบทบาทและหน้าที่ของตัวเอง
ว่าการได้ค่าคอมปีที่ 2 นั้น
เอเจ้นท์จะบริการอะไร
ให้กับทางเจ้าของบ้าง

ตรงนี้ก็ถือว่าเป็นความผิดพลาด
ของเอเจ้นท์เองส่วนนึง
90%ไม่อธิบายการทำงาน
หรือชี้แจ้งความรับผิดชอบของตัวเอง

ไม่มีการลงลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจน
เพื่อจะได้มีการ Discuss กันก่อนเริ่มงาน

ถ้าคิดว่าเจ้าของทุกคนต้องรู้
แล้วปีที่ 2 ก็ไปขอค่าคอมเจ้าของเอาดื้อๆ
เจ้าของก็มีสิทธิ์ที่จะมองว่ามันไม่แฟร์ได้เช่นกัน

ในอีกมุมนึง
ถ้าเจ้าของมองว่า
การจ่ายค่าคอมปีที่ 2
คือการจับเสือมือเปล่า
ไม่สมควรจ่าย

ในเงื่อนไขนี้
บทบาทของเอเจ้นท์ก็ทำหน้าที่เพียงแค่
ส่งลูกค้าทำสัญญาเช่า
แล้วก็จบ

หลังจากนั้นคือดูแลกันเอง
ถือว่าไม่ต้องดูแล
ไม่ต้องมี after service ใดๆ

ถ้าห้องเสียหาย
ผู้เช่าจ่ายช้าหรือค้างชำระ
ก็ไปตามกันเอง

เอเจ้นท์ไม่ต้อง ปสด กับปัญหาที่จะเกิด
หลังจากทำสัญญาเช่า

ดิลลักษณะแบบนี้ถือว่าแฟร์
ทั้งกับเจ้าของและเอเจ้นท์

ถ้าเจ้าของมองว่า
ต้องดูแลตลอดอายุสัญญาด้วย
ต้องมาคอยแก้ไขปัญหาต่างๆให้
แถมปีที่ 2 ก็ไม่ได้ค่าคอมอีก
ดิลแบบนี้แหละที่ไม่แฟร์

ใจเขาใจเรา
ทำงานแล้วไม่ได้เงิน
จะทำเพื่อ?
.
.
.
มีบริการอีกแบบนึง
ที่บริษัทลูกของ Developer
ที่ให้บริการแตกไลน์ออกมาอีก
นั่นคือ TMS (Tenant Management Service)

เป็นบริการที่เหมาะกับเจ้าของห้อง
ที่เป็นต่างชาติ
หรือส่วนใหญ่อยู่เมืองนอก
โดยการคิดค่าบริการนี้
คือเรตค่าเช่า 1 เดือนต่อปี

TMS คือการให้บริการ
ที่ดูแลในเรื่องของการดูแลตัวห้องเป็นหลัก
#ไม่ใช่การหาผู้เช่าเหมือนเอเจ้นท์

TMS จะดูแลตั้งแต่การเปลี่ยนหลอดไฟ
คีย์การ์ด ประตู โซฟา ฝักบัว
ยันเตียงนอน

ดูแลเรื่องความเสียหายข้าวของในห้อง
ที่ยังมีระยะเวลาประกัน
.
.
.
TMS กับการ Service ของเอเจ้นท์
#คนละตัวกัน
นักลงทุนต่างชาติหลายคน
จะใช้บริการทั้ง TMS
ในการดูแลห้อง
และใช้บริการ Agent
ในการหาผู้เช่า

ถึงแม้ว่าจะต้องเสียค่าบริการ
เป็นจำนวนเงินทั้งหมด
2 เดือนในแต่ละปี

เจ้าของมองว่า
ห้องเค้าคือ Asset ที่มีศักยภาพ
คาดการณ์ growth ว่าเติบโตในอนาคต
ดังนั้นการที่มีคนดูแลครบวงจร
ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
main-image
profile-avatar
matching 8 เดือนที่แล้ว
ความรู้

รู้ไว้อย่าพลาด อัปเดตค่าคอมมิชชั่นสำหรับเอเจ้นท์…เชิงพาณิชย์ vs. ที่อยู่อาศัย💰💴

Please attention !!!!
แจ้งข้อมูลเพื่อนพี่น้องเอเจ้นท์นะครับ
.
พวกทรัพย์เชิงพาณิชย์ (Commerical Listing)
เช่น พื้นที่ให้เช่า สำนักงาน ออฟฟิส โชว์รูม ช็อปขายสินค้า โรงงาน โกดัง
หรือพวกที่มีสัญญาเช่าขั้นต่ำ 3 ปี
.
กลุ่มทรัพย์พวกนี้
ได้ค่าคอม 1 เดือน
ต่อสัญญาเช่า 3 ปีนะครับ
6 ปี คอมเดือนครึ่ง
9 ปี คอม 2 เดือน
.
จะไม่เหมือนบ้าน คอนโด
หรือพวกสำหรับที่อยู่อาศัย
(Residencial Listing)
.
ที่มีเรทค่าคอม
สัญญาเช่า 1 ปี คอม 1 เดือน
สัญญาเช่า 2 ปี คอม 1.5 เดือน
สัญญาเช่า 3 ปี คอม 2 เดือน
.
จะได้ไม่ผิดใจกับ owner หรือ co-agent
ที่จะไปพาลคิดว่าเค้ากำลังเอาเปรียบเรา
แจ้งมาเพื่อทราบ
.
ปล.
ถ้าใครบอกว่าได้ค่าคอม Commercial
เหมือนกับเรท Residencial
ดีใจด้วยครับ!!! คุณโชคดีมากๆ
จงรักษา owner ท่านนี้ไว้ให้มั่น
.
แต่ถ้าเจอเรทแบบที่ผมแจ้งมาเบื้องต้น
ถือว่าเป็นเรทปกตินะครับ!!!
main-image
profile-avatar
matching 10 เดือนที่แล้ว