แชร์ประสบการณ์

แชร์ประสบการณ์

เอเจ้นท์ปล่อยเช่าไทย…อาชีพที่ใครก็เป็นได้ แต่ใครทำได้จริง?

matching
วันที่สร้างประกาศ เวลาสร้าง 2 เมษายน 2568 10:15
ทุกวันนี้จะเจอบทสนทนาจาก 3 ปาร์ตี้ ไม่พ้นเรื่องประมาณนี้

Agent บ่น 😤🗯️
"เจ้าของให้หนูไปเช็คทรัพย์สิน แต่หนูยังจัดการห้องอื่นไม่เสร็จ ไม่ใช่หนูไม่ไปนะ แต่ทุกห้องก็ได้รับความเสียหายเหมือนกัน สุดท้ายเค้าว่าหนูไม่มืออาชีพ"

เจ้าของบ่น😠📞
"ทำไมพอเกิดเรื่องไม่มีใครมาช่วยดูแลห้อง แล้วเอเจ้นท์เงียบหายไปเลย ได้ค่าคอมแล้วก็หายหัวไปเหมือนเดิมสินะ มันน่าเรียกค่าคอมคืนจริงๆ"

ลูกค้าบ่น 😩❓
"เราไม่สบายใจที่จะอยู่อาศัยห้องนี้แล้ว ถึงแม้ว่านิติกับทีมช่างจะยืนยันแล้วว่าปลอดภัย แต่ดูซิ ผนังร้าวแบบนี้ เราจะอยู่ยังไง เป็นคุณคุณจะอยู่มั้ยแถมเราแจ้งออก ยังไม่คืนเงินประกันเราอีก เจ้าของใจร้ายมาก"

ปัญหาทุกอย่างเกิดจากอะไรรู้มั้ย มันเกิดจากการที่ทุกคนต่างไม่รู้ว่า สิทธิ์และขอบเขตหน้าที่ของตัวเองคืออะไร

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ไม่ได้ถูกปลูกฝังเรื่องนี้มากนัก โดยเฉพาะเรื่องความรู้ทางกฏหมาย ทุกวันนี้รู้กันแค่แจ้งเกิด แจ้งตาย คนหาย ย้ายบ้าน เอาง่ายๆแค่คดีแพ่งกับคดีอาญา ขอบเขตของหน้าที่ของตำรวจที่รับแจ้งความคืออะไร ยังไม่รู้กันเลย สุดท้ายก็โทษกันไปกันมา เพียงเพราะอยากให้อีกฝ่ายทำตามที่ตัวเองต้องการ

ถ้ามานั่งถกประเด็นเรื่องนี้มันคงยาว เพราะมันมีหลายมุมที่ต้องมาพูดคุยกัน แต่ครั้งนี้สิ่งที่ผมเห็นชัดที่สุด คือ #เอเจ้นท์ไม่รู้ว่าต้องทำอะไร และ #คนอื่นไม่รู้ว่าเอเจ้นท์มีหน้าที่อะไร เดี๋ยวเรามาเจาะเรื่องนี้กัน

แผ่นดินไหวครั้งนี้ ไม่เพียงแต่สะเทือนทั้งหมด แต่สั่นสะเทือนไปถึงวงการเอเจ้นท์ปล่อยเช่าด้วย

#ปัญหาที่อาชีพนี้ไม่มีมาตรฐาน


หลายคอนโดฯ เริ่มมีผู้เช่าทั้งไทยและเทศ สอบถามถึงความปลอดภัยของโครงสร้าง ความคืบหน้าการตรวจสอบอาคาร และมาตรการป้องกันที่มีอยู่

แต่แทนที่เอเจ้นท์จะเป็น “ด่านหน้า” ที่ตอบคำถามเหล่านี้อย่างมืออาชีพ หลายรายกลับ “เงียบหาย”
หรือให้ข้อมูลไม่ตรงกัน จนเกิดความไม่เชื่อมั่นในระบบเอเจ้นท์ปล่อยเช่า

สิ่งที่น่ากังวลคือ นี่ไม่ใช่แค่ปัญหาเฉพาะหน้าแต่มันสะท้อนถึง “โครงสร้างวิชาชีพที่เปราะบาง”
ของอาชีพเอเจ้นท์ปล่อยเช่า ที่ยังขาดมาตรฐานในหลายๆด้านอย่างรุนแรงถ้าเราลองขุดรากเหง้าปัญหาตรงนี้ขึ้นมามันเริ่มจากอะไร?
1.อาชีพที่ใครก็เป็นได้ 🎭🚪
ที่ไม่มีการกำหนดเกณฑ์คุณสมบัติขั้นต่ำ

จุดเริ่มของปัญหาคือ อาชีพเอเจ้นท์ปล่อยเช่าในไทย “ไม่มีกฎหมายกำกับดูแลแบบจริงจัง” ไม่ต้องมีใบอนุญาต ไม่ต้องผ่านอบรมที่เป็นทางการ ต่างจากหลายประเทศที่เอเจ้นท์ต้องจบคอร์สรู้กฎหมาย
รู้สิทธิของผู้เช่า-ผู้ให้เช่า และรู้ว่าต้องจัดการภาวะฉุกเฉินอย่างไร

เมื่อใครก็เป็นได้ ทุกคนก็อ้างตัวว่าเป็นเอเจ้นท์ได้ ทั้งที่ไม่มีระบบติดตาม ไม่มีองค์กรกลางรับผิดชอบหรือสอบจริยธรรม ทำให้อาชีพนี้มี “ภาพลักษณ์เทาๆ” และขาดความเชื่อถือโดยเฉพาะในสายตาลูกค้าต่างชาติ
2. ปล่อยเช่า = จบงาน? 💸✌️🤷
ความเข้าใจผิดที่ทำให้เกิดความว่างเปล่าหลังดีลเอเจ้นท์จำนวนมากมี mindset ว่า “พอปล่อยเช่าได้ ก็จบแล้ว” ไม่มีการ follow-up ไม่มีการดูแลหลังการเช่า และที่สำคัญคือ
ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติเช่นแผ่นดินไหว ควรให้คำแนะนำกับลูกค้าอย่างไร

ขณะที่ผู้เช่าต่างชาติมักคาดหวัง “บริการหลังการขาย” โดยเฉพาะเมื่อเช่าผ่านเอเจ้นท์ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคือ พอได้เงินคอมมิชชันแล้ว ลูกค้าแทบจะต้องไปหาคำตอบเองทั้งหมด
3. ไม่มีทีมสื่อสาร–ไม่มีฐานข้อมูล–ไม่มีใครช่วยกันจัดการวิกฤต 🚫📡📂🆘
เมื่อเกิดวิกฤตระดับเมือง เช่นแผ่นดินไหว น้ำท่วม หรือเพลิงไหม้เอเจ้นท์ควรมีระบบกลางในการสื่อสาร
เช่น ข้อมูลการตรวจสอบตึก รายงานจากนิติบุคคล หรือแนวทางการอพยพเบื้องต้น แต่เอเจ้นท์ไทยส่วนใหญ่ไม่มีระบบอะไรแบบนี้

หลายคนทำงานแบบ “ลุยเดี่ยว” ไม่มีทีมงาน ไม่มีระบบจัดเก็บเอกสารไม่มีฐานข้อมูลของแต่ละคอนโดฯ จึงไม่สามารถให้ข้อมูลได้แม้แต่เรื่องพื้นฐาน เช่น อาคารนี้สร้างมากี่ปี ผ่านการตรวจโครงสร้างล่าสุดเมื่อไร มีแผนซ่อมแซมอะไรบ้าง
4.ปัญหาโครงสร้างของ “นายหน้าอิสระ” 🧱⚠️
ที่ไร้ระบบพัฒนาอาชีพเอเจ้นท์ปล่อยเช่าในไทยส่วนมากทำงานแบบอิสระไม่มีสังกัดบริษัทใหญ่ ไม่มีการอบรมพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง ขาดการอัปเดตเทรนด์หรือกฎหมายใหม่ๆจึงไม่พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่ซับซ้อน หรือมีทีมงานช่วงแบ่งเบาหน้าที่ เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นพร้อมกัน

การที่ไม่มีสมาคมกลางหรือแพลตฟอร์มที่กำกับดูแลให้เอเจ้นท์มีมาตรฐานขั้นต่ำ
คือ “จุดตาย” ที่ทำให้อาชีพนี้เติบโตแบบไม่ยั่งยืน
5.ความไม่เชื่อมั่นจากลูกค้า = วงจรอุบาทว์ที่ทำร้ายวงการ 🔁💔😟
เมื่อผู้เช่าโดยเฉพาะชาวต่างชาติ เริ่มไม่เชื่อใจเอเจ้นท์ไทย พวกเขาจะหันไปพึ่งแพลตฟอร์มออนไลน์
ติดต่อเจ้าของห้องเอง หรือแม้กระทั่งใช้เอเจ้นท์ประเทศเดียวกันเพราะในประเทศไทยไม่มีกฏหมายควบคุมเอเจ้นท์ ซึ่งทำให้บทบาทของเอเจ้นท์ไทยลดลงเรื่อยๆ

ยิ่งไม่มีการฟื้นฟูชื่อเสียง หรือสร้างมาตรฐานร่วมกัน วงการเอเจ้นท์ปล่อยเช่าในไทย
ก็จะยิ่งถดถอย และกลายเป็น “อาชีพทางผ่าน” แทนที่จะเป็น “วิชาชีพอย่างยั่งยืน”

#แล้วทางออกคืออะไร
? 💡🔍
ไม่ใช่แค่การเรียกร้องให้เอเจ้นท์ “มีจรรยาบรรณ” เท่านั้น แต่จำเป็นต้องวางโครงสร้างใหม่ให้ทั้งวงการ
โดยอิงจาก 3 เสาหลัก:
✅มาตรฐานวิชาชีพ
✅ระบบสนับสนุนกลาง
✅การสร้างความเชื่อมั่นร่วมกับลูกค้า
1. สร้าง “เกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ” สำหรับเอเจ้นท์ปล่อยเช่า 📘✅
จำเป็นต้องมี “การอบรมบังคับ” (เช่น course พื้นฐานออนไลน์) สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าสู่อาชีพเอเจ้นท์ปล่อยเช่า โดยมีหัวข้อ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับสัญญาเช่า, สิทธิผู้เช่า/เจ้าของ, การจัดการในภาวะฉุกเฉิน, และการสื่อสารแบบมืออาชีพกับลูกค้าต่างชาติ

ภาครัฐหรือเอกชนร่วมมือกันออก “ใบรับรองความรู้เบื้องต้น” เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และทำให้ผู้เช่าเลือกเอเจ้นท์ที่ผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้น

ผลักดันระบบ “จัดระดับเอเจ้นท์” โดยให้มีการประเมินบริการจากลูกค้าหลังปิดดีล เพื่อให้เกิดการพัฒนาและแข่งขันคุณภาพกันจริงจัง
2. จัดตั้ง “ศูนย์กลางข้อมูลและสนับสนุน” สำหรับเอเจ้นท์ปล่อยเช่า 🗂️🌐📞
ควรมีแพลตฟอร์มกลาง อาจร่วมกับสมาคมอสังหาริมทรัพย์หรือแพลตฟอร์มใหญ่เช่น DDproperty / Livinginsider
ที่รวบรวม:
✅ข้อมูลโครงสร้างตึก, อายุอาคาร, รายงานการตรวจสอบโครงสร้างจากนิติฯ
✅ช่องทางติดต่อฉุกเฉินของแต่ละคอนโดฯ
✅รายชื่อบริษัทตรวจสอบอาคารที่มีใบอนุญาต

มีระบบ “แจ้งเตือนภัย” สำหรับเอเจ้นท์ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว หรือไฟไหม้ เพื่อให้สามารถแจ้งผู้เช่าได้อย่างเป็นระบบ

จัดทำ คู่มือภาวะวิกฤต (Emergency Response Toolkit) ให้เอเจ้นท์สามารถตอบคำถามลูกค้าได้ เช่น “อาคารนี้ผ่านการตรวจโครงสร้างเมื่อไร?” “นิติฯ มีมาตรการรองรับอะไร?”
3. ยกระดับบทบาท “หลังการปล่อยเช่า” ให้เป็น Service จริงจัง 🛠️🤝💼
หลายคนมักจะคิดว่าการ after server หลังปล่อยเช่าคือเป็นบริการที่รวมอยู่ในค่าคอมแล้วแต่จริงๆไม่ได้เป็นเช่นนั้นค่าคอมมิสชั่นที่ได้รับตอนทำสัญญาเช่าเป็นบริการการตลาดที่พาลูกค้ามาเช่าทรัพย์สินเท่านั้น

แต่เนื่องด้วยใครๆก็กลายร่างมาเป็นเอเจ้นท์ได้การแข่งขันทางอาชีพจึงสูงมากเอเจ้นท์ทุกคนก็หวังจะให้เจ้าของเรียกใช้ประจำให้ดูแลจัดการห้องคนเดียวเรียกว่าหาวิธีผูกขาดกับเจ้าของแบบเนียนๆ

หลายคนจึงทำตามกันเกิดเป็นประเพณีวัฒนธรรมเพี้ยนๆที่เอเจ้นท์ต่างชาติมองว่า it makes yourself priceless.

โดยที่เอเจ้นท์ไทยไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วหน้าที่ของเอเจ้นท์ คือการหาลูกค้าเท่านั้น

แต่จะให้พูดตอนนี้ก็คงเหมือนเอาเรือไปขวางน้ำเชี่ยวเพราะมันกลายเป็น new normal ที่เกินจะไปแก้ไขมันแล้ว

เอเจ้นท์จริงๆควรมี Package บริการหลังการเช่า ที่เป็นลักษณะของ Property Manangment (PM) หรือเป็นลักษณะของ Tenant managment serivce (TMS) เช่น การติดตามค่าน้ำ ค่าไฟ บริการแปลเอกสารนิติบุคคล, ประสานงานการซ่อมเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า,ให้คำแนะนำด้านภาษีหรือกฏหมายที่เกี่ยวข้อง

มีการ follow-up ทุก 3 หรือ 6 เดือน เพื่อสอบถามความพึงพอใจและอัปเดตสภาพห้อง/อาคาร
สร้างความมั่นใจทั้งเจ้าของห้องและผู้เช่า

ส่งเสริมให้เอเจ้นท์ไทยมีเครือข่าย “Partner Fix” เช่น ช่างประจำ, บริษัททำความสะอาด, บริษัทประเมินความเสียหายหลังภัยพิบัติ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่า ทุกปัญหาเอเจ้นท์มีทางออกในมือ
4. ผลักดัน “ระบบรับร้องเรียนและตรวจสอบจรรยาบรรณ” 📝⚖️🚨
หากลูกค้ามีปัญหากับเอเจ้นท์ ต้องมีช่องทางร้องเรียนที่มีผลจริง เช่น การตัดคะแนนระดับเอเจ้นท์, การถูก Blacklist จากแพลตฟอร์มต่างๆ

เปิดเผยรายชื่อเอเจ้นท์ที่ได้รับการรับรองเท่านั้น บน Marketplace ขนาดใหญ่ เพื่อสร้างแรงกดดันให้ทุกคนต้องรักษามาตรฐาน

ส่งเสริมการใช้สัญญากลางที่มีรายละเอียดชัดเจนว่า หน้าที่ของเอเจ้นท์ไม่ใช่แค่ “หาคนเช่า” แต่รวมถึง “ดูแลข้อมูลและความปลอดภัยเบื้องต้นของผู้เช่า”
5. เปลี่ยน mindset: จาก “นายหน้า” เป็น “ที่ปรึกษาอสังหาแบบมืออาชีพ” 🧠🔁🏢✨
หากวงการเอเจ้นท์ปล่อยเช่าในไทย ยังมองว่าตัวเองแค่หาลูกค้าได้ก็จบ อาชีพนี้จะไม่พัฒนา

ถึงเวลาแล้วที่เอเจ้นท์ต้อง reposition ตัวเอง ให้เหมือนที่ปรึกษาด้านที่อยู่อาศัย (Residential Consultant) ไม่ใช่แค่คนเชื่อมดีล

การให้ข้อมูลอย่างถูกต้อง โปร่งใส และชัดเจน ในภาวะฉุกเฉิน คือวิธีที่ทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำ
และกล้าแนะนำต่อ

นี่คือแนวทางที่ทางผมคิดว่า ถ้า way นี้เกิดขึ้น จนเป็นรูปธรรมได้ตามที่คาดหวังไว้ วงการเอเจ้นท์ของไทย จะเป็นอาชีพที่เติบโตอย่างมั่นคง และก้าวไกลแข่งกับเอเจ้นท์ประเทศอื่นได้

แล้วเอเจ้นท์ไทย จะเป็นอาชีพที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ไปพร้อมๆกันค่าาาา (ตำแหน่งอธิบดีสภานายหน้าอสังหา ต้องเป็นชั้นแล้วแหละ😁)
.
📷 ในรูปมี ai 6 คน ps 1 คน

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

ดูหัวข้ออื่นเพิ่มเติม