เอเจ้นท์ปล่อยเช่าไทย…อาชีพที่ใครก็เป็นได้ แต่ใครทำได้จริง?
Agent บ่น 😤🗯️
"เจ้าของให้หนูไปเช็คทรัพย์สิน แต่หนูยังจัดการห้องอื่นไม่เสร็จ ไม่ใช่หนูไม่ไปนะ แต่ทุกห้องก็ได้รับความเสียหายเหมือนกัน สุดท้ายเค้าว่าหนูไม่มืออาชีพ"
เจ้าของบ่น😠📞
"ทำไมพอเกิดเรื่องไม่มีใครมาช่วยดูแลห้อง แล้วเอเจ้นท์เงียบหายไปเลย ได้ค่าคอมแล้วก็หายหัวไปเหมือนเดิมสินะ มันน่าเรียกค่าคอมคืนจริงๆ"
ลูกค้าบ่น 😩❓
"เราไม่สบายใจที่จะอยู่อาศัยห้องนี้แล้ว ถึงแม้ว่านิติกับทีมช่างจะยืนยันแล้วว่าปลอดภัย แต่ดูซิ ผนังร้าวแบบนี้ เราจะอยู่ยังไง เป็นคุณคุณจะอยู่มั้ยแถมเราแจ้งออก ยังไม่คืนเงินประกันเราอีก เจ้าของใจร้ายมาก"
ปัญหาทุกอย่างเกิดจากอะไรรู้มั้ย มันเกิดจากการที่ทุกคนต่างไม่รู้ว่า สิทธิ์และขอบเขตหน้าที่ของตัวเองคืออะไร
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ไม่ได้ถูกปลูกฝังเรื่องนี้มากนัก โดยเฉพาะเรื่องความรู้ทางกฏหมาย ทุกวันนี้รู้กันแค่แจ้งเกิด แจ้งตาย คนหาย ย้ายบ้าน เอาง่ายๆแค่คดีแพ่งกับคดีอาญา ขอบเขตของหน้าที่ของตำรวจที่รับแจ้งความคืออะไร ยังไม่รู้กันเลย สุดท้ายก็โทษกันไปกันมา เพียงเพราะอยากให้อีกฝ่ายทำตามที่ตัวเองต้องการ
ถ้ามานั่งถกประเด็นเรื่องนี้มันคงยาว เพราะมันมีหลายมุมที่ต้องมาพูดคุยกัน แต่ครั้งนี้สิ่งที่ผมเห็นชัดที่สุด คือ #เอเจ้นท์ไม่รู้ว่าต้องทำอะไร และ #คนอื่นไม่รู้ว่าเอเจ้นท์มีหน้าที่อะไร เดี๋ยวเรามาเจาะเรื่องนี้กัน
แผ่นดินไหวครั้งนี้ ไม่เพียงแต่สะเทือนทั้งหมด แต่สั่นสะเทือนไปถึงวงการเอเจ้นท์ปล่อยเช่าด้วย
#ปัญหาที่อาชีพนี้ไม่มีมาตรฐาน
หลายคอนโดฯ เริ่มมีผู้เช่าทั้งไทยและเทศ สอบถามถึงความปลอดภัยของโครงสร้าง ความคืบหน้าการตรวจสอบอาคาร และมาตรการป้องกันที่มีอยู่
แต่แทนที่เอเจ้นท์จะเป็น “ด่านหน้า” ที่ตอบคำถามเหล่านี้อย่างมืออาชีพ หลายรายกลับ “เงียบหาย”
หรือให้ข้อมูลไม่ตรงกัน จนเกิดความไม่เชื่อมั่นในระบบเอเจ้นท์ปล่อยเช่า
สิ่งที่น่ากังวลคือ นี่ไม่ใช่แค่ปัญหาเฉพาะหน้าแต่มันสะท้อนถึง “โครงสร้างวิชาชีพที่เปราะบาง”
ของอาชีพเอเจ้นท์ปล่อยเช่า ที่ยังขาดมาตรฐานในหลายๆด้านอย่างรุนแรงถ้าเราลองขุดรากเหง้าปัญหาตรงนี้ขึ้นมามันเริ่มจากอะไร?
จุดเริ่มของปัญหาคือ อาชีพเอเจ้นท์ปล่อยเช่าในไทย “ไม่มีกฎหมายกำกับดูแลแบบจริงจัง” ไม่ต้องมีใบอนุญาต ไม่ต้องผ่านอบรมที่เป็นทางการ ต่างจากหลายประเทศที่เอเจ้นท์ต้องจบคอร์สรู้กฎหมาย
รู้สิทธิของผู้เช่า-ผู้ให้เช่า และรู้ว่าต้องจัดการภาวะฉุกเฉินอย่างไร
เมื่อใครก็เป็นได้ ทุกคนก็อ้างตัวว่าเป็นเอเจ้นท์ได้ ทั้งที่ไม่มีระบบติดตาม ไม่มีองค์กรกลางรับผิดชอบหรือสอบจริยธรรม ทำให้อาชีพนี้มี “ภาพลักษณ์เทาๆ” และขาดความเชื่อถือโดยเฉพาะในสายตาลูกค้าต่างชาติ
ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติเช่นแผ่นดินไหว ควรให้คำแนะนำกับลูกค้าอย่างไร
ขณะที่ผู้เช่าต่างชาติมักคาดหวัง “บริการหลังการขาย” โดยเฉพาะเมื่อเช่าผ่านเอเจ้นท์ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคือ พอได้เงินคอมมิชชันแล้ว ลูกค้าแทบจะต้องไปหาคำตอบเองทั้งหมด
เช่น ข้อมูลการตรวจสอบตึก รายงานจากนิติบุคคล หรือแนวทางการอพยพเบื้องต้น แต่เอเจ้นท์ไทยส่วนใหญ่ไม่มีระบบอะไรแบบนี้
หลายคนทำงานแบบ “ลุยเดี่ยว” ไม่มีทีมงาน ไม่มีระบบจัดเก็บเอกสารไม่มีฐานข้อมูลของแต่ละคอนโดฯ จึงไม่สามารถให้ข้อมูลได้แม้แต่เรื่องพื้นฐาน เช่น อาคารนี้สร้างมากี่ปี ผ่านการตรวจโครงสร้างล่าสุดเมื่อไร มีแผนซ่อมแซมอะไรบ้าง
การที่ไม่มีสมาคมกลางหรือแพลตฟอร์มที่กำกับดูแลให้เอเจ้นท์มีมาตรฐานขั้นต่ำ
คือ “จุดตาย” ที่ทำให้อาชีพนี้เติบโตแบบไม่ยั่งยืน
ติดต่อเจ้าของห้องเอง หรือแม้กระทั่งใช้เอเจ้นท์ประเทศเดียวกันเพราะในประเทศไทยไม่มีกฏหมายควบคุมเอเจ้นท์ ซึ่งทำให้บทบาทของเอเจ้นท์ไทยลดลงเรื่อยๆ
ยิ่งไม่มีการฟื้นฟูชื่อเสียง หรือสร้างมาตรฐานร่วมกัน วงการเอเจ้นท์ปล่อยเช่าในไทย
ก็จะยิ่งถดถอย และกลายเป็น “อาชีพทางผ่าน” แทนที่จะเป็น “วิชาชีพอย่างยั่งยืน”
#แล้วทางออกคืออะไร? 💡🔍
ไม่ใช่แค่การเรียกร้องให้เอเจ้นท์ “มีจรรยาบรรณ” เท่านั้น แต่จำเป็นต้องวางโครงสร้างใหม่ให้ทั้งวงการ
✅มาตรฐานวิชาชีพ
✅ระบบสนับสนุนกลาง
✅การสร้างความเชื่อมั่นร่วมกับลูกค้า
ภาครัฐหรือเอกชนร่วมมือกันออก “ใบรับรองความรู้เบื้องต้น” เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และทำให้ผู้เช่าเลือกเอเจ้นท์ที่ผ่านเกณฑ์ได้ง่ายขึ้น
ผลักดันระบบ “จัดระดับเอเจ้นท์” โดยให้มีการประเมินบริการจากลูกค้าหลังปิดดีล เพื่อให้เกิดการพัฒนาและแข่งขันคุณภาพกันจริงจัง
ที่รวบรวม:
✅ข้อมูลโครงสร้างตึก, อายุอาคาร, รายงานการตรวจสอบโครงสร้างจากนิติฯ
✅ช่องทางติดต่อฉุกเฉินของแต่ละคอนโดฯ
✅รายชื่อบริษัทตรวจสอบอาคารที่มีใบอนุญาต
มีระบบ “แจ้งเตือนภัย” สำหรับเอเจ้นท์ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว หรือไฟไหม้ เพื่อให้สามารถแจ้งผู้เช่าได้อย่างเป็นระบบ
จัดทำ คู่มือภาวะวิกฤต (Emergency Response Toolkit) ให้เอเจ้นท์สามารถตอบคำถามลูกค้าได้ เช่น “อาคารนี้ผ่านการตรวจโครงสร้างเมื่อไร?” “นิติฯ มีมาตรการรองรับอะไร?”
แต่เนื่องด้วยใครๆก็กลายร่างมาเป็นเอเจ้นท์ได้การแข่งขันทางอาชีพจึงสูงมากเอเจ้นท์ทุกคนก็หวังจะให้เจ้าของเรียกใช้ประจำให้ดูแลจัดการห้องคนเดียวเรียกว่าหาวิธีผูกขาดกับเจ้าของแบบเนียนๆ
หลายคนจึงทำตามกันเกิดเป็นประเพณีวัฒนธรรมเพี้ยนๆที่เอเจ้นท์ต่างชาติมองว่า it makes yourself priceless.
โดยที่เอเจ้นท์ไทยไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วหน้าที่ของเอเจ้นท์ คือการหาลูกค้าเท่านั้น
แต่จะให้พูดตอนนี้ก็คงเหมือนเอาเรือไปขวางน้ำเชี่ยวเพราะมันกลายเป็น new normal ที่เกินจะไปแก้ไขมันแล้ว
เอเจ้นท์จริงๆควรมี Package บริการหลังการเช่า ที่เป็นลักษณะของ Property Manangment (PM) หรือเป็นลักษณะของ Tenant managment serivce (TMS) เช่น การติดตามค่าน้ำ ค่าไฟ บริการแปลเอกสารนิติบุคคล, ประสานงานการซ่อมเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า,ให้คำแนะนำด้านภาษีหรือกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
มีการ follow-up ทุก 3 หรือ 6 เดือน เพื่อสอบถามความพึงพอใจและอัปเดตสภาพห้อง/อาคาร
สร้างความมั่นใจทั้งเจ้าของห้องและผู้เช่า
ส่งเสริมให้เอเจ้นท์ไทยมีเครือข่าย “Partner Fix” เช่น ช่างประจำ, บริษัททำความสะอาด, บริษัทประเมินความเสียหายหลังภัยพิบัติ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่า ทุกปัญหาเอเจ้นท์มีทางออกในมือ
เปิดเผยรายชื่อเอเจ้นท์ที่ได้รับการรับรองเท่านั้น บน Marketplace ขนาดใหญ่ เพื่อสร้างแรงกดดันให้ทุกคนต้องรักษามาตรฐาน
ส่งเสริมการใช้สัญญากลางที่มีรายละเอียดชัดเจนว่า หน้าที่ของเอเจ้นท์ไม่ใช่แค่ “หาคนเช่า” แต่รวมถึง “ดูแลข้อมูลและความปลอดภัยเบื้องต้นของผู้เช่า”
ถึงเวลาแล้วที่เอเจ้นท์ต้อง reposition ตัวเอง ให้เหมือนที่ปรึกษาด้านที่อยู่อาศัย (Residential Consultant) ไม่ใช่แค่คนเชื่อมดีล
การให้ข้อมูลอย่างถูกต้อง โปร่งใส และชัดเจน ในภาวะฉุกเฉิน คือวิธีที่ทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำ
และกล้าแนะนำต่อ
นี่คือแนวทางที่ทางผมคิดว่า ถ้า way นี้เกิดขึ้น จนเป็นรูปธรรมได้ตามที่คาดหวังไว้ วงการเอเจ้นท์ของไทย จะเป็นอาชีพที่เติบโตอย่างมั่นคง และก้าวไกลแข่งกับเอเจ้นท์ประเทศอื่นได้
แล้วเอเจ้นท์ไทย จะเป็นอาชีพที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ไปพร้อมๆกันค่าาาา (ตำแหน่งอธิบดีสภานายหน้าอสังหา ต้องเป็นชั้นแล้วแหละ😁)
.
📷 ในรูปมี ai 6 คน ps 1 คน