มาแชร์ เคสฟ้องร้องขอเงินดาวน์คืนทำได้จริง/ ใช้ Email ติดตามงานเสมอ
ลูกค้าฟ้องกับ Dev เจ้านึง ลูกค้าโดนยึดเงินจอง เนื่องจากมาโอนช่วง Covid ไม่ได้
ระหว่างนั้น ก็เลยบอกลูกค้าว่าถ้าตั้งใจจะโอนแต่มาโอนไม่ได้ทั้งที่ยืดกำหนดแล้ว ก็ฟ้องร้องดูเพราะถือว่าไม่ได้จะเบี้ยวแค่มาไม่ทันกำหนดเวลา
ศาลตัดสินว่าให้ลูกค้าชนะเพราะไม่ได้มีเจตนาที่ไม่โอนแต่แค่ว่ามาโอนไม่ได้ ในเวลาที่กำหนดเท่านั้น
ได้คืนมาหลายล้าน (ลูกค้าเลยมีความรู้สึกว่า ยังอยากกลับมาซื้ออสังหาที่ไทยอยู่ หลังจากตอนแรกลาขาดขายทิ้งทั้งพอร์ท)
เคสนี้ไม่ได้ใช้หลักฐานบน Line เลย จริงๆมีไลน์ที่คุยกับฝ่าย Sale และ ฝ่ายโอน ซึ่งคนที่ทำเรื่องก็ออกกันไปหมดแล้ว โชคดีมากที่ปกติเวลาจะคุยอะไรกับ Dev จะคุยผ่าน Email แล้วก็ CC ลูกค้าทุกครั้ง
ไม่ว่าเรื่องเล็กใหญ่แค่ไหน มันเลยเป็นหลักฐานว่า ลูกค้ามีความตั้งใจจะโอนจริงๆ (เจตนาสำคัญมาก)
ฝากไว้เป็นแนวทางเผื่อใครจะไม่ไปต่อกับโปรเจ็คไหน อย่าลืมเก็บหลักฐานไว้ทั้งหมด
แปะข้อกฏหมายเพิ่มเติม
***E-mail ถือเป็นหลักฐานทางกฎหมายได้หรือไม่***
หลายท่านอาจจะสงสัยว่า การทำงานผ่านระบบคอมพิวเตอร์ โอนเงินให้แก่กัน โดยไม่เคยเจอแม้แต่หน้า แล้วถ้าเกิดมีการโกงกันเกิดขึ้น จะสามารถฟ้องร้องหรือเอาผิดทางกฏหมายได้หรือไม่
คำตอบคือ “ได้” นะครับ
ถ้ามีการโต้ตอบกันทางอีเมล์ มีการระบุเนื้อหาข้อตกลงกันทั้งสองฝ่าย สามารถใช้อีเมล์เป็นหลักฐานทางกฎหมายได้
หมวด 1 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา 7 ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใด เพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา 8 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง มาตรา 9 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อ ความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว
มาตรา 9 ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้ว ถ้า
(1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน
(2) วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้าง หรือส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมหรือข้อตกลงของคู่กรณี