ความรู้

ความรู้

หลายคนเคยเห็น แต่ไม่รู้ มันสำคัญอย่างไรล่ะสิ...มารู้จัก “หมุดหลักฐานแผนที่“ กันเถอะ

วันที่สร้างประกาศ เวลาสร้าง 2 สิงหาคม 2566 17:46
รู้จัก “หมุดหลักฐานแผนที่” กันหรือเปล่าครับ? ตัวอย่างที่เห็นใช้เพื่ออ้างอิงตำแหน่งทางราบ ในการสร้างตำแหน่งระวางพิกัด การสอบเขต การแบ่งแปลงที่ดิน การรังวัดที่ดิน เพื่อใช้ในการเขียนแผนผังรูปแปลงที่ดินบนโฉนดที่ดิน “เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน” รวมถึงเป็นจุดอ้างอิงให้แปลงที่ดินอื่นๆในละแวกเดียวกันด้วย

อย่างไรก็ดี “หมุดหลักฐานแผนที่” ในประเทศไทยมีอยู่ 2 ประเภท
1.หมุดหลักฐานทางดิ่ง คือหมุดหลักฐานที่ให้ค่าความสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง (Mean Sea Level)
2.หมุดหลักฐานทางราบ คือหมดหลักฐานที่ให้ค่าพิกัดทางราบเป็นละติจูด (Latitude)และลองจิจูด (Longitude) การหาค่าของหมุดหลักฐานทางราบใช้การสำรวจด้วยวิธีการงานโครงข่ายสามเหลี่ยมและวงรอบ 

ปัจจุบันกรมที่ดินได้เปลี่ยนมาใช้วิธีการทาง GPS โดยวิธีการรังวัดแบบสัมพัทธ์ (Relative) ค่าพิกัดที่ได้จะเป็นระบบ UTM (Universal Transverse Mercator) เป็นวิธีบอกลักษณะพิกัดทางภูมิศาสตร์ในลักษณะกริด (Grid Coordinate) ระบุตำแหน่งของจุดอ้างอิงบนผิวโลก โดยระบบพิกัดอาร์ทีเชียนซึ่งแบ่งพื้นผิวโลกออกเป็น 60 โซน 

ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinate System - GCS)
ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinate System - GCS) นิยมใช้ระบบพิกัดกริด (Grid Coordinate) หรือ UTM (Universal Transverse Mercator) ซึ่งบอกตำแหน่งบนพื้นผิวโลกด้วย 2 ค่า คือ 1) ลองจิจูด (longitude) 2) แลตติจูด (latitue) โดยอ้างอิงกับเส้นเมอริเดียนหรือเส้นแนวดิ่ง (meridian) และเส้นศูนย์สูตรหรือเส้นแนวราบ (Equator) 

ระบบพิกัดกริด (Grid Coordinate) หรือ UTM (Universal Transverse Mercator)
» ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ของประเทศไทยมี 4 ชนิด 
   1) EPSG:24047 Indian 1975 / UTM Zone 47N
   2) EPSG:24048 Indian 1975 / UTM Zone 48N
   3) EPSG:32647 WGS 84 / UTM Zone 47N
   4) EPSG:32648 WGS 84 / UTM Zone 48N

ที่มา: https://dsdi.msu.ac.th/?article=programming&fn=week-10
วิทยาการข้อมูลและนวัตกรรมดิจิตอล

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

ดูหัวข้ออื่นเพิ่มเติม