มาดูหลักการแก้ปัญหางานเอเจนท์อสังหาฯ โดยใช้กระบวนการ Case Analysis
เอเจนท์อยู่กับบริษัท มีที่ปรึกษาก็ดีไป ส่วนเอเจนอิสระบางคนก็ใช้วิธีถามพี่ที่รู้จัก ไปจนถึงโพสถามความเห็นชาวบ้านในโซเชียลมีเดียก็มีให้เห็นมากมาย
แต่เชื่อได้เลยว่า หากคุณนำขั้นตอน Case Analysis นี้ไปใช้ ความเชี่ยวชาญในอาชีพของคุณนอกจากจะก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วแล้ว ยังติดทน เติบโตและแตกยอดได้ไม่จำกัด
เพราะทุกปัญหามีความแตกต่าง และข้อมูลที่เราต้องรู้นั้น ไม่เคยครบถ้วนหรือเพียงพอ ใครบอกอะไรกับเรา เราก็จำได้เพียงบางส่วน
แต่ไม่สามารถบันทึกเป็นองค์ความรู้แท้ได้เหมือนกับการที่ได้พบวิเคราะห์และก้าวผ่านปัญหานั้นด้วยตนเอง
และก่อนเริ่มขั้นตอนของ Case Analysis แนะนำให้เตรียมกระดาษ ปากกา มาเขียน อย่าคิดวนในหัว
และไม่ว่าคุณจะหงุดหงิดกับผู้ซื้อผู้ขายเคสนี้มากแค่ไหน ก็ให้ปล่อยวางอารมณ์ทั้งปวงไว้ข้างๆก่อนค่ะ จบงานแล้วค่อยกลับมาโมโหใหม่ได้
แทนที่จะโฟกัสอย่างเดียวว่าเราทำงานพลาด และหงุดหงิดตัวเอง เราต้องมองให้เห็นตั้งแต่วันแรกที่เราเริ่มงานเคสนี้ มองให้เหมือนฉายหนังย้อนกลับ กระบวนการ recruit ทรัพย์เราทำอย่างไร เอกสารเราเก็บอะไรมาบ้าง เราตกลงอะไรไว้ ทำการตลาดอย่างไร
ไล่ทุกขั้นตอน มีใครเกี่ยวข้องบ้าง ถ้าไม่รู้ว่าขั้นตอนที่ถูกต้อง มีอะไรบ้างก็เปิดตำราเทียบค่ะ ไล่มาจนถึงวินาทีที่พบปัญหา และการรับมือในขณะนั้น เน้นเก็บข้อมูลตามจริง ไม่ใช้อารมณ์ รีบแก้ปัญหา หรือชี้นิ้วตัดสินใครในตอนนี้
และบางคนก็จะได้ทราบว่า ที่ผ่านมาเราไม่มีกระบวนการทำงานที่เป็นขั้นตอนอะไรเลย จึงไม่แปลก ที่จะพัฒนาหรือส่งต่อให้ทีมได้
เมื่อเจอว่าปัญหาอยู่ตรงไหนบ้าง มันคืออะไร ก็ไปข้อ 3 ค่ะ
ถ้ามีคำถามว่า เอ ชั้นจะจู้จี้กับลูกค้าเกินไปหรือเปล่า? ก็ต้องเขียนออกมาด้วยล่ะค่ะ ว่าการสื่อสารกับลูกค้ายังมีช่องว่าง ไม่เป็นทีมเดียวกัน ซึ่งอาจนำไปสู่การพัฒนาทักษะการสื่อสาร และการรับมือบทสนทนาที่ท้าทายได้อีกนะคะ
แต่ต้องไม่รีบด่วนในการเลือกทำ เพราะตอนนี้เราต้องการรวบรวมวิธีการที่หลากหลายที่สุด ในระยะเวลาที่สั้นที่สุด
ดังนั้น หากต้องการเป็นผู้รู้จากประสบการณ์ของตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นอยู่ร่ำไป ก็ลองพิจารณานำวิธีการ Case Analysis ไปลองใช้ดูค่ะ
เพราะใช้มากับตัวเองแล้ว นอกจากได้วิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะกับตัวเองยังทำให้จิตใจสงบ มั่นคง ลดความท่วมท้น วิตกกังวลในการจัดการปัญหาได้ด้วย
ขอให้ประสบความสำเร็จค่ะ