ทำไมหน้าร้อนมักไฟไหม้บ่อย? พร้อมแชร์วิธีป้องกันความเสี่ยง
ในช่วงหน้าร้อนเรามักจะได้ยินข่าวไฟไหม้อาคารบ้านเรือน สถานที่ต่าง ๆ รวมถึงไฟไหม้ป่ามากกว่าช่วงอื่น สาเหตุเป็นเพราะช่วงนี้มีปริมาณการใช้ไฟฟ้ามากกว่าปกติ ด้วยความที่อากาศร้อน จึงต้องเปิดแอร์ฉ่ำ ๆ หรือบางบ้านก็เปิดพัดลมควบคู่ไปด้วย ไหนจะเปิดทีวีดูซีรีส์ ชาร์จมือถือ ทำอาหารอีก
และหากเครื่องใช้ไฟฟ้าและสายไฟฟ้าเสื่อมสภาพ ก็จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งเป็นสาเหตุยอดฮิตของการเกิดไฟไหม้ นอกจากนี้ หน้าร้อนมีสภาพอากาศแห้งแล้ง เมื่อเกิดเพลิงไหม้ไฟจะลุกลามอย่างรวดเร็ว และยากต่อการควบคุม
เหตุการณ์ไฟไหม้เป็นสาธารณภัยอันดับต้น ๆ ของไทย โดยสถิติการเกิดอัคคีภัยปี 2566 ที่ผ่านมา มีมากถึง 60.02% ของสาธารณภัยทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) ดังนั้นหน้าร้อนนี้เรามาป้องกันไฟไหม้ ไม่ให้เกิดขึ้นกับบ้านเรากันดีกว่าค่ะ
รังสี UV จากแสงแดดเป็นตัวกระตุ้นให้ฉนวนไฟฟ้าหรือพลาสติกที่หุ้มสายไฟกรอบแตกได้เร็ว ความร้อนทำให้ฉนวนไหม้หรือละลาย จึงควรใช้สายไฟที่ทนทานต่อความร้อนได้ดี ความชื้นก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้สายไฟเสื่อมสภาพ เช่น จุดต่อสายไม่มีฉนวนหุ้ม และโดนละอองฝน หรืออยูในบริเวณที่มีความชื้น ตัวนำทองแดงก็จะถูกกัดกร่อนและเกิดสนิม
เพื่อป้องกันไฟไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร จึงไม่ควรชะล่าใจและคอยสังเกตเครื่องใช้ไฟฟ้าและสายไฟฟ้าอยู่เสมอ โดยไม่ต้องรอให้ถึง 10 ปี 20 ปี ที่สำคัญพยายามรักษาสภาพของพวกนี้ให้ดีที่สุด ไม่มองข้ามคำเตือนในฉลากของผลิตภัณฑ์ รวมถึงติดตั้งหรือวางไว้ในบริเวณที่เหมาะสม
หรือไม่อาจเปลี่ยนมาใช้ธูปเทียนไฟฟ้าแบบเสียบปลั๊กแทน เพราะน้ำหนักของอุปกรณ์มีมากกว่าธูปเทียนของจริง มีโอกาสที่จะถูกลมพัดจนล้มลงได้น้อยกว่าธูปเทียนจริง หรือถ้าล้มก็ไม่ติดไฟอยู่ดี ยังไงก็ตาม ธูปเทียนแบบเสียบปลั๊กก็ยังเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ดี แม้จะเสี่ยงน้อยกว่า แต่ก่อนออกจากบ้านก็ควรปิดสวิตช์ทั้งหมด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร
อีกทั้งการแก้ไขสถานการณ์หลังเกิดไฟไหม้ก็สำคัญไม่แพ้กัน ทุกบ้านจำเป็นต้องติดตั้งถังดับเพลิง และบันทึกเบอร์สายด่วนดับเพลิงในมือถือหรือจดแล้ววางไว้ในที่ที่สังเกตได้ง่าย เพื่อรีบแก้ไขหากเกิดเหตุขึ้นมาจริง ๆ