เอเจ้นท์ต้องรู้! 6 สิ่งที่ควรทำหลังแผ่นดินไหว เพื่อดูแลลูกค้าและทรัพย์สิน
สิ่งที่น่าชื่นชมอย่างนึง คือ Developer ทุกเแบรนด์ออกมา Action สำรวจหน้างานและให้ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับตัว product ตัวเอง
รอยแตกรอยร้าวที่เกิดขึ้นไม่ได้หมายความว่าตึกนั้นคุณภาพไม่ดี มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตามปกติอยู่แล้ว ตราบใดที่ตัวเสาและคานซึ่งถือเป็นโครงสร้างหลักยังปกติอยู่ภาพรวมก็ยังถือว่าไปต่อได้
เหตุการณ์แผ่นดินไหวในวันที่ 28 มีนาคม 2568
ถือเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่จำเป็นต้องรับมืออย่างรวดเร็ว รอบคอบ และใส่ใจ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ทั้งเจ้าของทรัพย์และผู้เช่า
1. เช็กความปลอดภัยของลูกค้าและทรัพย์สินทันที🧍♂️🔍
ถ้าลูกค้าอยู่ต่างประเทศ ควรแจ้งสถานการณ์และข้อมูลล่าสุดเป็นภาษาอังกฤษด้วย
ตรวจสอบสภาพของทรัพย์ที่รับฝากขาย/ปล่อยเช่าโดยเร็วและถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐาน
ขอรายงานหรือใบรับรองความปลอดภัยจากวิศวกรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ถ้ามีการอพยพควรแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงสถานที่พักชั่วคราวและระยะเวลาการเข้าพักได้อีกครั้ง
ถ้ามีทรัพย์ที่ยังปลอดภัยและพร้อมอยู่อาศัยควรระบุไว้ชัดเจน เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้เช่าหรือผู้ซื้อ
ถ้ามีควรช่วยประสานงานและให้คำแนะนำในการเตรียมเอกสารเคลม
ถ้ายังไม่มีอาจแนะนำให้ทำประกันภัยที่ครอบคลุมภัยธรรมชาติในอนาคต
เน้นความพร้อมในการช่วยเหลือ ดูแลลูกค้าและความใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ
หลีกเลี่ยงการโฆษณาเชิงพาณิชย์ในช่วงวิกฤต เพราะอาจดูไม่เหมาะสม
ถ้าลูกค้าไม่สบายใจที่จะอยู่ควรใช้สติและเหตุผลในการพูดคุย เพราะตามหลักของตัวสัญญาเช่า การที่ใช้คำว่า"ไม่สบายใจ" อาจจะเป็นเหตุผลไม่เพียงพอที่จะแจ้งย้ายออกและขอเงินประกันคืน
การที่จะย้ายออกได้โดยไม่ผิดสัญญานั้นควรมีใบรับรองจากทางวิศวกรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับรองถึงจะสามารถย้ายออกได้
แต่ในเหตุการณ์แบบนี้การคุยกันตามตัวสัญญาและกฏหมายอย่างเดียวอาจจะต้องใช้วาทศิลป์ร่วม เพราะมันคาบเกี่ยวกับคำว่ามนุษยธรรมด้วย
1.เช็กสถานการณ์ vs เช็กหัวใจ🧐🔁❤️🩹
Great Agent : จะถามก่อนว่า "คุณปลอดภัยดีไหมครับ?"
Great Agent : เดินทางไปตรวจห้องลูกค้าเอง และส่งภาพ+สถานะให้แบบ real time
Great Agent : “คิดแทน” ช่วยจัดการเบื้องต้นจนลูกค้าแทบไม่ต้องกังวล
Great Agent : โทรหา พูดคุย และพร้อมหา solution เผื่อมีการย้ายหรือพักชั่วคราว
ที่ลูกค้าจะไม่มีวันลืม ในวันที่ลูกค้าไม่มั่นใจ… เขาจะจำได้ว่าใครคือคนที่อยู่ตรงนั้นเพื่อเขาจริงๆ
ตัวเอเจ้นท์เอง จะได้พูดคุยกับตัวเองด้วยว่าหลังจากที่ได้รับค่าวิชาชีพมาแล้ว
จริยธรรมในการประกอบอาชีพของอาชีพ
คุณมองสิ่งนี้ในลักษณะอย่างไร
แค่ได้ค่าคอมแล้วก็จบกันไปเพราะถือว่าเป็นแค่การตลาดหาลูกค้าหรือว่ามี Service Mind อยู่ดูแล คอยประสานต่อจนครบสัญญา
เหตุการณ์นี้ เป็นโอกาสให้เอเจ้นท์ไทยแสดงฝีมือและได้แสดงสปิริตของวิชาชีพได้อย่างเต็มที่ว่าเราดีกว่าเอเจ้นท์ต่างชาติอย่างไร
แน่นอนว่าการกระทำสิ่งเหล่านี้ไม่มีถูกมีผิด อาจจะเป็นแนวทางของเอเจ้นท์
หรือนโยบายของบริษัทอยู่แล้ว แต่สิ่งที่จะตัดสินคุณอาจไม่ใช่กฏระเบียบของบริษัท แต่การมุมมองและความรู้สึกของเจ้าของและลูกค้า