ความรู้

ความรู้

เคยสงสัยกันมั้ยว่า คำว่า "ซอยอารีย์" มาจากไหน?

matching
วันที่สร้างประกาศ เวลาสร้าง 15 กันยายน 2565 12:27
นั่งหาที่ดินอยู่แล้วเจอประวัติของเส้นอารีย์ สืบเนื่องจากโพสของเพจ Socialgiver ที่เกริ่นเรื่องประวัติศาสตร์ความเป็นมาของซอยอารีย์ เลยทำให้เข้าไปค้นใน google ได้ความว่า….

ย่านนี้มีประวัติยาวนานไปถึงสมัย ร. 5
ใครทราบบ้างว่า คำว่า "ซอยอารีย์" มาจากไหน?
จึงขออนุญาติมาแชร์สิ่งที่คุณพ่อ (ท่านเกิดปี 2475 และเพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อเดือน ก.ค. ปีนี้ด้วยวัย 89 ปลายๆ) เคยเล่าให้ฟังว่า ที่ซอยอารีย์นั้น เมื่อก่อนเป็นทุ่งนา เมื่อตอนที่คุณพ่อมาซื้อที่ตรงนี้ (เกือบ 70 ปีมาแล้ว) ก็ยังเป็นทุ่งนาอยู่ค่ะ เรียกว่าสร้างบ้านกลางทุ่งนาเลยทีเดียว
คุณพ่อเล่าว่า ที่ตรงนี้เป็นของแขกค่ะ ชื่อนายอารี (หรือ อาลี? ... อันนี้ความคิดส่วนตัวนะคะ) นามสกุล กาติ๊บ .... เรื่องนี้คุณพ่อเล่าให้ฟังตั้งแต่ตัวเองยังเด็ก

จำชื่อนี้ได้ดี พ่อบอกว่า ชื่อซอยก็ตั้งตามชื่อเจ้าของที่ค่ะ เท็จจริงประการใด ไม่ทราบได้ คุณพ่อก็เสียไปแล้ว เป็นอันว่า ซอยอารีย์ ตั้งชื่อตามเจ้าของที่นั่นเอง
และเมื่อสมัยก่อน ตอนที่เจ้าของโพสยังเด็ก ป้ายชื่อซอยนี้ สะกดว่า "อารี" ไม่มี ย. การันต์ นะคะ แต่จำไม่ได้ ว่า อารี มี "ย์" ตั้งแต่เมื่อไหร่?
หากสมาชิกในนี้มีใครที่วัยใกล้เคียงกับดิฉัน ช่วยมาแชร์ความรู้ก็ดีนะคะ
ตัวเองย้ายมาอยู่ที่ซอยอารี เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้วค่ะ แต่ตัวบ้าน, คุณพ่อปลูกเสร็จก่อนย้ายมาอยู่จริง ร่วมสิบปี ตอนมาอยู่ใหม่ๆ มีแค่ตึกแถวปากซอย (สนั่นนภาตอนนี้) ฝั่งตรงข้ามเป็นห้างเล็ก ๆ ชื่อ Thai Y T หรือ ไทย ย่ง เตียง (ปัจจุบันคือตึก IBM)

และก็มีโรงโบว์ลิ่ง นอกนั้น ไม่มีอะไรเลย ตึกแถวตรงร้านเหลาเหลา ก็มาทีหลังนานมาก จากบ้านไปทางอนุสาวรีย์ชัยฯ มีตึกแถวแค่ประปรายเอง ปากซอยอารี มีแค่ร้านอาหารเล็กน้อย (ไม่เรียงกันเป็นพรืดเหมือนปัจจุบัน)

ร้านที่ดังๆ คือร้านไต้ฮกไอสครีม 🥰 หัวมุมซอย 1 เป็นร้านขายของชำ 2 คูหาเหมือน Supermarket ย่อมๆ ขายเนื้อหมูสดด้วย
ความเจริญค่อย ๆ ขยายมาทางซอยอารี เมื่อราวๆ 30 มานี้เองค่ะ มาเจริญเอาจริงๆ จังๆ และรวดเร็ว ก็ตั้งแต่ ธ กสิกร ย้ายมาตั้ง สนง ใหญ่ที่นี่ ตามมาด้วยตึก IBM ตึก พหลโยธินพลาซ่า จากนั้นมา คอนโดต่างๆ ก็ตามมาเป็นฝูง .... ย่านนี้ก็เจริญมาเรื่อย จนเป็นหนึ่งในย่าน Hip ของกรุงเทพฯ ในปัจจุบันนี้
ขอบคุณความรู้ดีๆ จาก
คุณปริณวัชญณ์ คณะภัควรรษณ์
matching property

ติดตามเพิ่มเติม ได้ที่
https://www.facebook.com/Ex.state

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

ดูหัวข้ออื่นเพิ่มเติม