ประกันภัยบ้าน สิ่งที่หลายคนมองข้าม
1.มีเหตุอัคคีภัยเกิดขึ้นทั้งหมด 1,999 ครั้ง อาคาร/บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 2,458 หลัง พื้นที่ธุรกิจได้รับผลกระทบ 250 แห่ง
2.เกิดอุทกภัยขึ้นในพื้นที่รวม 73 จังหวัด บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 241,480 หลัง
3.เกิดวาตภัยขึ้นในพื้นที่รวม 76 จังหวัด บ้านเรือนได้รับความเสียหาย 78,992 หลัง
เห็นไหมครับว่าจากสถิติที่ผมเอามาให้ดูสะท้อนให้เห็นถึงภัยหลายอย่างที่สามารถทำให้บ้านเรือนเสียหายได้ แถมบางภัยทำให้บ้านเสียหายทั้งหลังก็มี เช่น การเกิดอัคคีภัย เป็นต้น
ผมเคยเจออยู่กรณีนึงนะครับ อยากจะมาเล่าให้ฟัง คือ บ้านนาย ก. เกิดไฟไหม้ และไฟเจ้ากรรมดันลามไปไหม้บ้านของนาย ข. ด้วย จนทำให้บ้านนาย ข. เสียหายหนัก นาย ข. จึงทำการฟ้องร้อง นาย ก. ให้ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น แถมเจอแจ็คพอตว่า นาย ก. ไม่ได้ทำประกันภัยบ้านไว้อีกต่างหาก เคสนี้ นาย ก. ถึงกับต้องขายทรัพย์สินที่เหลืออยู่เพื่อนำไปใช้หนี้ให้ นาย ข. ซึ่งพูดง่าย ๆ ว่า งานนี้นาย ก. รับไว้คนเดียวเต็ม ๆ
2.การโจรกรรม หากมีมิจฉาชีพงัดประตูหน้าต่าง เพื่อเข้ามาขโมยทรัพย์สินภายในบ้าน ตรงนี้สามารถเคลมได้ทั้งค่าซ่อมประตู หน้าต่าง ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนตัวล๊อคประตูหรือกุญแจ รวมถึงทรัพย์สินที่ไม่ได้อยู่ในข้อยกเว้นตามกรมธรรม์
3.ค่าเช่าบ้านชั่วคราว หากบ้านของเราเสียหายจนไม่สามารถอยู่ได้ ต้องไปเช่าบ้านอยู่ชั่วคราว ตรงนี้ก็สามารถเคลมค่าเช่ารายวันได้เช่นเดียวกัน
4.ความคุ้มครองกระจกที่ติดมากับตัวบ้านไม่ว่าจะเป็นกระจกประตูหน้าบ้าน กระจกหน้าต่าง กระจกที่เป็นฉากกั้นในห้องน้ำ หากมีการแตกร้าวเนื่องจากอุบัติเหตุก็สามารถเคลมได้เช่นกัน
5.ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ตัวนี้หลายคนอาจจะไม่เคยได้ยิน ผมจะบอกว่าตัวนี้สำคัญเหมือนกันนะครับผมจะบอกอะไรดี ๆ ให้ หากวันหนึ่งมีญาติมาเยี่ยมที่บ้านแล้วลื่นน้ำที่หกภายในบ้านจนได้รับบาดเจ็บ เชื่อไหมว่ากรมธรรม์คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลให้ด้วยนะ
หรือในกรณีสุนัขที่เราเลี้ยงไว้ดันหลุดไปกัดคนอื่นที่อยู่บริเวณหน้าบ้านของเรา ตรงนี้คนที่โดนกัดก็ได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเช่นเดียวกัน หรือคนที่อยู่คอนโดจะเจอบ่อย ๆ คือ ก๊อกน้ำในห้องแตกแล้วน้ำไหลเข้าไปห้องข้าง ๆ จนทำให้ทรัพย์สินภายในห้องของเขาเสียหาย ตรงนี้ก็ให้คุ้มครองอีกด้วย
เห็นไหมครับว่ามันสำคัญจริง ๆ (เหมือนตัวอย่าง ไฟไหม้บ้าน นาย ก. แล้วลามไปบ้าน นาย ข. นั่นเอง)
6.ประกันภัยอุบัติเหตุ บางบริษัทจะให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุกับเจ้าของบ้านด้วย หากเจ้าของบ้านเกิดเสียชีวิตจากอุบัติเหตุไม่ว่าจะอยู่ที่ได้ก็ตาม หรือในกรณีที่สมาชิกภายในบ้านเสียชีวิตในบ้านที่เกิดเหตุ บริษัทประกันก็จะจ่ายเงินทดแทนการเสียชีวิตให้กับผู้รับผลประโยชน์ตามทุนที่กำหนดไว้ เรียกได้ว่าคุ้มครองแบบครอบคลุมกันเลยทีเดียว
1. สิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมฐานราก)
2. ทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้าง
เราต้องพิจารณาดูว่าอยากจะซื้อประกันเพื่อคุ้มครองข้อ 1 หรือข้อ 2
เราก็แค่จ่ายเบี้ยประกันภัยตามทุนประกันสิ่งปลูกสร้างอย่างเดียว
(ทุนประกันภัย = พื้นที่ใช้สอย x มาตรฐานราคาสิ่งปลูกสร้างอาคาร ไม่ต้องเอามูลค่าที่ดินมารวมนะครับ)
หากต้องการให้คุ้มครองแต่ทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้าง เพียงแค่คำนวณว่าทรัพย์สินภายในบ้านของเรามูลค่าประมาณเท่าไร และซื้อทุนประกันตามมูลค่านั้นได้เลย เบี้ยประกันภัยก็จะคิดตามทุนที่ซื้อเช่นเดียวกัน